การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553
การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553

ภายหลังจากการปะทุครั้งที่สองของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ในไอซ์แลนด์ พ.ศ. 2553 ส่งผลให้เกิดการปิดน่านฟ้าทั่วยุโรป[1] เนื่องจากมีความกังวลว่ากองเศษหินซึ่งถูกปลดปล่อยออกมาหลังการปะทุจะลอยเข้าไปอยู่ในเฉลียงการบินมาตรฐานและทำให้เครื่องยนต์ของอากาศยานเสียหาย[2] ห้วงอากาศยานควบคุมของหลายประเทศถูกปิดตามระเบียบเครื่องมือการบิน ทำให้มีผู้โดยสารตกค้างนับล้านคน ส่งผลให้เป็นการปิดการจราจรทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง[3] และเนื่องจากพื้นที่อากาศส่วนใหญ่ปิดการจราจรทางอากาศ[4][5][6] ทำให้อีกหลายประเทศได้รับผลกระทบจากการยกเลิกเที่ยวบินเหล่านี้ด้วยเช่นกันการปะทุดังกล่าวเกิดขึ้นใต้ธารน้ำแข็ง น้ำเย็นจากน้ำแข็งซึ่งกำลังละลายทำให้ลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มันแตกออกเป็นอนุภาคแก้ว (ซิลิกา) ขนาดเล็กมาก และเถ้า และถูกพัดพาไปพร้อมกับพวยเถ้าถ่าน เนื่องจากธรรมชาติของอนุภาคเถ้าถ่านและปริมาตรมหาศาลของไอน้ำ ซึ่งเกิดจากการละลายของธารน้ำแข็ง ได้ทำให้พวยเถ้าถ่านซึ่งเป็นอันตรายต่ออากาศยานถูกส่งขึ้นไปยังชั้นบรรยากาศเบื้องบนอย่างรวดเร็ว[7]สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ประมาณการว่าอุตสาหกรรมสายการบินจะสูญเสียรายได้กว่า 148 ล้านยูโร (200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ต่อวัน ระหว่างการปิดน่านฟ้าดังกล่าว[8] ทั้งฟินแลนด์และสหรัฐอเมริกาต่างก็มีรายงานการค้นพบแก้วจากภูเขาไฟในอากาศยานของตน เป็นการเน้นถึงอันตรายต่ออากาศยานซึ่งบินผ่านพวยเถ้าถ่าน[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: การปิดน่านฟ้าทั่วยุโรปจากการปะทุของเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ พ.ศ. 2553 http://www.smh.com.au/travel/travel-news/qantas-ca... http://www.google.com/hostednews/ap/article/ALeqM5... http://www.norwegian.com/en/landingssider/cancella... http://www.nytimes.com/interactive/2010/04/15/worl... http://www.reuters.com/article/idUSTRE63I254201004... http://www.sfgate.com/cgi-bin/article.cgi?f=/g/a/2... http://news.bbc.co.uk/1/hi/sci/tech/8621992.stm http://news.bbc.co.uk/1/hi/uk/8622438.stm http://news.bbc.co.uk/2/hi/europe/8627720.stm http://news.bbc.co.uk/2/hi/uk_news/8624464.stm